ไทรอยด์

16109 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ไทรอยด์

ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายมนุษย์ มีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย รวมทั้งควบคุมการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงส่งผลให้ทุกระบบปรวนแปร ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมอง โดยเฉพาะต่อประสาทการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้

สาเหตุ
โรคไทรอยด์มากกว่าครึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน การรักษาจึงทำได้ในระดับที่ควบคุมให้ภาวะของโรคนั้นเบาลง หรือทำให้โรคสงบ และทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างเป็นปกติมากที่สุด ส่วนสาเหตุที่มาจากพันธุกรรมและไวรัส เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมดูแลได้ แต่สำหรับความเครียด และภูมิคุ้มกันนั้น เป็นเรื่องที่เราสามารถดูแลป้องกันตัวเองได้

อาการและการรักษา
ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์มี 3 แบบ คือ
1. ฮอร์โมนไทรอยด์เกิน คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมามากเกินความจำเป็น (Hyperthyroidism) จะทำให้มีอาการหัวใจเต้นแรง ใจสั่น นอนไม่หลับ และน้ำหนักลด ที่สำคัญอารมณ์แปรปรวนบ่อย
Hyperthyroid คอพอกเป็นพิษ หมายถึง ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากว่าปกติเป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญมากเกินไป
สาเหตุ
- โรค Grave's disease เกิดภาวะที่ร่างกายสร้าง แอนติบดีไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ผู้ป่วยจะมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อม
- โรค Multinudular toxic goiter และ Toxic adenoma หมายถึง ภาวะที่ก้อนในต่อมไทรอยด์ทำงานสร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น โดยอาจมีต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว (Toxic adenoma) หรือ โตหลายก้อน (Multinodular toxic goiter)
- Thyroiditis ช่วงแรกของต่อมไทรอยด์อักเสบจะมีอาการของคอพอกเป็นพิษได้ แต่จะมีอาการชั่วคราว หลังจากนั้นจะเข้าสู่ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ขาดในระยะหลัง

อาการ
- อารมณ์แปรปรวน - นอนไม่หลับ
- กล้ามเนื้ออ่อนแรง - ตาโปน
- มือสั่น - ใจสั่น เหนื่อยง่าย
- คอพอก - ประจำเดือนผิดปกติ
- น้ำหนักลดแม้ว่าจะรับประทานอาหารได้ดี
การรักษา
การรักษามีได้ 4 วิธี คือ
1. การรับประทานยาเพื่อลดการสร้างฮอร์โมน เช่น PTU, Methimazole
2. การรับประทานน้ำแร่ radioactive iodineเมื่อผู้ป่วยรับประทานน้ำแร่เข้าไป ต่อมไทรอยด์ก็จะรับ iodine ที่มีรังสีเข้าไป รังสีนี้จะทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์
3. การผ่าตัด ปัจจุบันการผ่าตัดมีความนิยมลดลงไปมาก
4. ยาอื่น beta blocker เช่น propanolol, atenolol, metoprolol เช่น เพื่อลดอาการใจสั่น, มือสั่น
2. ฮอร์โมนไทรอยด์ขาด คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาน้อยกว่าความต้องการของร่างกาย (Hypothyroidism) โดยมีอาการชีพจรจะเต้นช้า ขี้หนาว ความจำเสื่อม บวม ท้องผูก หากเป็นมากๆ และนานๆ จะทำให้สมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน ถ้าเป็นในเด็กจะทำให้ตัวเล็กแคระแกร็น และเป็นโรคเอ๋อได้
สาเหตุ
- เกิดจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ thyroiditis
- เกิดจาการตัดต่อมไทรอยด์มากเกินไป
- เกิดจากการได้น้ำแร่ที่ใช้รักษาคอพอกเป็นพิษ
อาการ
ผู้ป่วยที่เป็นไม่มากอาจจะไม่อาการอะไร หากไม่รักษาโรคจะเป็นมากขึ้นจนเกิดของอาการต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย คือ
- อ่อนเพลีย - อารมณ์ผันผวน
- เสียงแหบ - ขี้ลืม
- น้ำหนักเพิ่ม - กลืนลำบาก
- ขี้หนาว - เบื่ออาหาร
- เหนื่อยง่าย จะเห็นได้ชัดเวลาออกกำลังกาย
- ผิวหยาบและแห้ง ผิวซีด และผมแห้ง
การรักษา
1. วิธีธรรมชาติ กินไอโอดีนให้มากพอ ต่อมไทรอยด์จะยุบลง กินไอโอดีนในปริมาณ ที่สามารถลดฮอร์โมน TSH แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่ร่างกายจะรับได้ (คนทั่วไปรับได้ไม่เกินวันละไม่เกิน 15 มิลลิกรัม โดยปราศจากอาการ เช่น คลื่นใส้) กินติดต่อกันประมาณ 3 เดือน ต่อมไทรอย์จะลดลงจนมีขนาดปกติ
2. การรักษาทางแพทย์แผนปัจจุบัน
- โดยการให้ thyroid hormone บางคนอาจต้องให้ยาไปตลอดชีวิตโดยจะต้องเริ่มให้ในขนาดน้อยก่อน แล้วค่อยปรับยาจนกระทั่งระดับ FT4 และ TSH อยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ไม่ควรเปลี่ยนยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์
- ควรตรวจหาระดับ TSH เป็นระยะ เพื่อปรับยาไทรอยด์การเจาะเลือดปีละ 1-2 ครั้ง
3. ฮอร์โมนไทรอยด์ปกติ (Simple goiter) คือ ภาวะที่ฮอร์โมนหลั่งออกมาตามปกติ แต่เกิดความผิดปกติที่ต่อมไทรอยด์เอง ไม่มีอันตรายใดๆ หากก้อนไม่มีลักษณะที่โตมากจนไปกดทับอวัยวะข้างเคียง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้